วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 101
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. - 12.30 น. ห้อง 432(จษ)

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
  • เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
  • เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
  • เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.การสังเกต ( Observation )
  • การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
  • โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย
2.การจำแนกประเภท ( Classifying )
  • การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งชิ้น
  • เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3.การเปรียบเทียบ ( Comparing )
  • เด็กต้องอาศัยความสัมพัธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
  • เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

ตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบขนาดของลูกบอล

4.การจัดลำดับ ( Ordering )
  • เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
  • การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

ตัวอย่างเช่น การจัดลำดับการเจริญเติบโตของต้นไม้ จากเล็กไปใหญ่

5.การวัด ( Measurement )
  • มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
  • การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ




การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด


6.การนับ ( Counting )
  • เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
  • การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7.รูปทรงและขนาด ( Sharp and Size )
  • เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน
คำศัพท์เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
  • ตัวเลข - น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
  • ขนาด - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
  • รูปร่าง - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
  • ที่ตั้ง - บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
  • ค่าของเงิน - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท สิบบาท
  • ความเร็ว - เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
  • อุณหภูมิ - เย็น ร้อน อุ่น เดือด 
       
       จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาดูวีดีโอ เรื่อง พัฒนาการการสอนคณิตศาสตร์ 



        รายการตอนี้เราจะมาดูว่า การเฝ้าสังเกตุการณ์และการวางแผนอย่างรอบคอบ จากครูพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร สำหรับเด็กวัยเนิร์สเซอรี่และอนุบาลหนึ่งของโรงเรียนประถมเกรทบาร์ที่เบอร์มิงแฮม อแมนดา แมคเคนนา หัวหน้าครูชั้นเด็กเล็ก เชื่อว่าการเรียนคณิต ศาสตร์ควรจะสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ประจำวัน การสอนที่เน้นหลักพึ่งตัวเองและเรียนแบบเล่นคือหัวใจของการพัฒนาด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็กในขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนเกรทบาร์แห่งนี้ จุดสนใจของโรงเรียนในตอนนี้ มุ่งไปที่การส่งเสริมให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง โดยพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น การจดจำ ตัวเลข ลำดับที่ของตัเลข และการคำนวณ ครูพี่เลี้ยงสาธิตให้เราเห็นวิธีประเมินผลเด็ก โดยผ่านทางการเฝ้าสังเกตการณ์วันต่อวันและนำผลที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์นี้ไปเป็นข้อมูลในการประชุมครูและวางแผนอนาคตต่อไป โรงเรียนเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าถ้าครูสามารถจูงใจให้เด็กๆสนุกกับวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึงทั้งโรงเรียน

       และท้ายชั่วโมงทำกิจกรรม อาจารย์ให้นักศึกษาพับกระดาษเป็น3ช่อง แล้วให้วาดสถานที่ที่ผ่านมาก่อนถึงมหาวิทยาลัยมา 3ที่  

         #ซึ่งดิฉันเลือกวาดร้านถ่ายเอกสาร ร้านข้าวแกงปักต์ใต้ และร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียน


ความรู้ที่ได้รับ

          ได้รับความรู้เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และสามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ไปปรับใช้กับเด็กได้ โดยกิจกรรมนี้เด็กจะได้ฝึกการสังเกต การเรียงลำดับว่าผ่านอะไรมาบ้างก่อนถึงโรงเรียน


วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 13 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 101
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. - 12.30 น. ห้อง 432(จษ)


คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          ระบบการคิดของมนุษย์เพื่ิศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียนและเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวณ ตัวเลข การคำนวณหรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน กาวัด เรขาคริต พีชคณิตหรือแบบรูปความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผลและความคิดสร้างสรรค์


ความสำคัญของคณิตศาสตร์

  • เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
  • ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
  • เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
  • เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
ตามแนวคิดของ Piaget
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 2ปี
  • เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ 
  • สามารถจำสิ่งต่าง ๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้
2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) 2-7ปี
  • ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
  • เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
  • เล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวน ตัวเลข ตัวอักษร คำที่มีความหมาย
  • เด็กในวัยนี้จะให้ความสัมคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
  • ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กสามารถสั่งสมความคิดไว้ได้

การอนุรักษ์ ( Conservation )

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
  • โดยการนับ
  • การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
  • การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
  • เรียงลำดับ
  • จัดกลุ่ม

หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
  • ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
  • ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


        ท้ายชั่วโมง อาจารย์แจกกระดาษและสีให้นักศึกษาทำกิจกรรมให้วาดรูปสัตว์ โดยมีข้อแม้ว่า สัตว์ตัวนั้นต้องมีหลายขา เมื่อวาดเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาเดินไปหยิบกระดาษสีเพื่อมาทำเป็นรองเท้าให้กับสัตว์ที่ตนเองวาด



ความรู้ที่ได้รับ 
          ได้รู้ถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์ หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและกิจกรรมในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ จะช่วยฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การเปรียบเทียบรูปทรง

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น 
วัน / เดือน / ปี  6  พฤศจิกายน  2556
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน  101
เวลาเข้าเรียน  08.30 น. - 12.30 น.  ห้อง 432 ( จษ )


            สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกที่ทำการเรียนการสอน  โดยอาจารย์ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐม ว่ามีระบบระเบียบในการเรียนการสอนไว้อย่างไร เช่น ระเบียบการเข้าเรียน  ระเบียบการแต่งกาย และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในการเรียนการสอน โดยการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ให้ทำ My Mapping  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามที่ตนเองเข้าใจ โดยอาจารย์แจกกระดาษเอ 4 และสีสำหรับการทำงานในชิ้นนี้ โดยให้นักศึกษาคิดและทำตามความเข้าใจของตนเอง โดยใช้ความคิดเป็นอิสระในการเขียนงานของตนเอง 




ความรู้ที่ได้รับ
         ได้ฝึกการคิด การออกแบบและการใชัึความคิดสร้างสรรค์ในการตกแต่งผลงาน