วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 13 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 101
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. - 12.30 น. ห้อง 432(จษ)
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
ตามแนวคิดของ Piaget
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 2ปี
- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ
- สามารถจำสิ่งต่าง ๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้
- ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
- เล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐานของพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวน ตัวเลข ตัวอักษร คำที่มีความหมาย
- เด็กในวัยนี้จะให้ความสัมคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
- ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพกายภาพเปลี่ยนแปลง ทำให้เด็กสามารถสั่งสมความคิดไว้ได้
การอนุรักษ์ ( Conservation )
เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
- โดยการนับ
- การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
- การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
- เรียงลำดับ
- จัดกลุ่ม
หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ท้ายชั่วโมง อาจารย์แจกกระดาษและสีให้นักศึกษาทำกิจกรรมให้วาดรูปสัตว์ โดยมีข้อแม้ว่า สัตว์ตัวนั้นต้องมีหลายขา เมื่อวาดเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาเดินไปหยิบกระดาษสีเพื่อมาทำเป็นรองเท้าให้กับสัตว์ที่ตนเองวาด
ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้ถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์ หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและกิจกรรมในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ จะช่วยฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การเปรียบเทียบรูปทรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น