วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 20 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 101
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. - 12.30 น. ห้อง 432(จษ)


          สัปดาห์นี้อาจารย์ให้รายงานในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย และให้เพื่อนๆในห้องมีส่วนร่วมในการให้คะแนน

กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ


จำนวน หมายถึง วัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบายปริมาณ หมวด หมู่ แผนก ยอมรวมที่กำหนดนับไว้เป็นส่วนๆ
การดำเนินการ หมายถึง การลงมือกระทำ จัดการ ปฎิบัติการ ทำให้เป็นไป
จำนวนและการดำเนินการ คือ การรวมและการแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง

สาระการเรียนรู้ จำนวนและการดำเนินการ
  • การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
  • การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
  • การเขียนตัวเลขฮินดู อารบิก แสดงจำนวน
  • การเปรียบเทียบจำนวน
  • การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
  • การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
 แนวทางในการจัดประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยมี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.ปัจจัยสำคัญที่สอนเด็ก โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ
1.1 ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น
1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ สมมุติเครื่องหมายต่างๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด
1.4 ขั้นนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมาย บวก ลบ

     การจัดประสบการณ์เรียนรู้จึงอาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียนและศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น
คณิตศาสตร์ของเด็ก 3 ปี
1. เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า
2. เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบและใช้คำ
3. ใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวันและใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ
คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี
1. เข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนนับไม่เกินสิบ
2. เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว-สั้นและเรียงลำดับกิจกรรมเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้
3. สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
4. เข้าใจ รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
คณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี
1. เข้าใจและมีความพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม การแยกกลุ่ม
2. เข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปรืมาตร สามานถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
3. เข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม




กลุ่มที่ 2 เรื่องรูปทรงเรขาคณิต


 รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม
รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม
รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม
รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม
รูปวงรี มีเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไท่ากัน
รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลมและห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน

ประโยชน์และความสำคัญของเรขาคณิต
  • เพื่อทำความเข้าใจหรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  • ช่วยพัฒนาทักษะที่สำคัญ
  • ทักษะการคิด การใช้เหตุผลเป็นพื้้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องอื่น ๆ
ตัวอย่าง เกมการศึกษา
 





กลุ่มที่ 3 เรื่อง การวัด

        การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการจับเวลา/การวัดระยะทาง/การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวมๆ กันว่าการวัด เช่น การชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร


ตัวอย่างการวัด


ดินสอยาว 11 ซม.     สมุดยาว  7 ซม.





กลุ่มที่ 4 พีชคณิต
       พีชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจำแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบจำนวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่นๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสำคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย

       แบบรูป หรือที่บางครั้งเรียกว่า อนุกรม คือ ชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด ตามเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดาหรือคาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไปคืออะไร
ประเภทของรูปแบบ
1.แบบรูปของจำนวน  เป็นแบบรูปที่แสดงชุดของตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แบ่งออกเป็น 
1.1. แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้น
1.2. แบบรูปของจำนวนที่ลดลง
1.3. แบบรูปของจำนวนที่ซ้ำ
2.แบบรูปเรขาคณิต  เป็นแบบรูปที่แสดงชุดของรูปเรขาคณิตที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แบ่งออกเป็น
2.1.แบบรูปที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะของรูปร่าง




             จากการสังเกต เราจะเห็นว่าแบบรูปแต่ละแถวเป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตที่มีรูปร่างเหมือนกัน แต่สีเรียงสลับตามลำดับซ้ำกันไปเรื่อยๆ


2.2. แบบรูปที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะของสี


             จากการสังเกต เราจะเห็นว่าแบบรูปแต่ละแถวเป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตที่มีสีเหมือนกัน แต่รูปทรงแตกต่างกันเรียงลำดับซ้ำกันไปเรื่อยๆ


กลุ่มที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
       ความน่าจะเป็น หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข ( 0 ถึง1 ) ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก
     ในการทดลองหรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม

ตัวอย่าง

มีเสื้อสีดำ 1 ตัว กางเกง 3 ตัว คือ สีน้ำเงิน สีส้ม สีดำ
สุ่มจับคู่เสื้อกับกางเกงได้ 3 ชุด คือ สีดำกับสีน้ำเงิน สีดำกับสีส้ม สีดำกับสีดำ




ความรู้ที่ได้รับ

          สามารถนำความรู้ที่ได้จากวันนี้ไปใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กได้  ทำให้เด็กเกิดจินตนาการ รู้จักเปรียบเทียบ รู้จักสังเกต และทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานในการเรียน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น