วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 8 มกราคม 2557
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 101
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. - 12.30 น. ห้อง 432(จษ)
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
สาระมาตรฐานและการเรียนรู้
สาระที่3 เรขาคณิต
อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่นแล้วให้นักศึกษาหยิบรูปวงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมโดยเลือกมาคนละ1ชิ้น แล้วติดรูปนั้นไว้กลางกระดาษ จากนั้นให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้ ดิฉัน ได้สี่เหลี่ยม เลือกทำรูปหมี
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
-สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
-สาระที่ 2 การวัด
-สาระที่ 3 เรขาคณิต
-สาระที่ 4 พีชคณิต
-สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical
thinking )
- จำนวนนับ 1 ถึง 20
- เข้าใจหลักการนับ
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- รู้ค่าจำนวนนับ
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
- การรวมและการแยกกลุ่ม
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว
น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก
ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น
วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง
ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล
3 ขึ้นไป
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
สาระมาตรฐานและการเรียนรู้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
- มาตรฐาน ค.ป.1.1.
เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง
จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านเลขอารบิก เลขไทย และการเขียน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
- ความหมายการรวม
- รวมสิ่งต่างๆ ที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- ความหมายการแยก และการแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่
ไม่เกิน 10
สาระที่2 การวัด
- มาตรฐาน ค.ป.2.1.
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว
น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนักและปริมาตร
- การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
- การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
เงิน
- ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
เวลา
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
- ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับฉัน
เด็กจะใช้สิ่งของหรืออุปกรณ์มาใช้แทนการวัด ในภาพนี้คือการนำกระดาษมาใช้แทนการวัด
การวัดของเด็กปฐมวัยนั้นไม่มีหน่วย ดังนั้น จากภาพ เด็กได้เรียนรู้เรื่องการตวง จากการเปรียบเทียบความหนัก-เบา
สาระที่3 เรขาคณิต
- มาตรฐาน ค.ป.3.1.
รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
- มาตรฐาน ค.ป.3.2.
รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
- การบอก ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ
เช่น ไกล ใกล้ ซ้าย ขวา เป็นต้น
รูปเรขาคณิต
สามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
- ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
- วงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
- การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิต
- การเปลี่ยนแปลงรูปเรขา
รูปวงกลม สามเหลี่ยม
สี่เหลี่ยม
เมื่อพับครึ่งจะได้รูป
ดังนี้
เมื่อคลี่รูปออกจะเป็น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมเหมือนเดิม
เกิดจากการเอารูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมมาต่อกัน
ภาพที่นำเอารูปเรขาคณิตมาซ้อนกัน
สาระที่4 พีชคณิต
- มาตรฐาน ค.ป.4.1.
เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
แบบรูปและความสัมพันธ์
- แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง
ขนาดที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
ใช้เกณฑ์เรื่องรูปทรงและสีในการเรียง
* เด็กสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของรูปนี้ได้ *
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- มาตรฐาน ค.ป.5.1.
รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ
สาระที่6 ทักษะ
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ
ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่นแล้วให้นักศึกษาหยิบรูปวงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมโดยเลือกมาคนละ1ชิ้น แล้วติดรูปนั้นไว้กลางกระดาษ จากนั้นให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้ ดิฉัน ได้สี่เหลี่ยม เลือกทำรูปหมี
ความรู้ที่ได้รับ
ได้เข้าใจสาระมาตรฐานและการเรียนรู้ทั้ง 6 สาระ ที่ต้องนำไปใช้ในการเรียนการสอน และกิจกรรมในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้เพื่อช่วยเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น